ความเป็นมา
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริตและเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรมโดยใช้ชื่อว่า “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)” ปัจจุบัน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นการประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 425 หน่วยงาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีหน่วยงานที่รับการประเมิน
หลักการประเมิน
หลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) แบ่งออกเป็น 5 ดัชนี ดังนี้
(1) ดัชนีความโปร่งใส (Transparency Index)
(2) ดัชนีความพร้อมรับผิด (Accountability Index)
(3) ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption – Free Index)
(4) ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture Index)
(5) ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity Index)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) มี 3 เครื่องมือ ได้แก่
(1) แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT) เป็นการประเมินจากระบบการดำเนินงานของหน่วยงาน
(2) แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) เป็นการสำรวจความคิดเห็น โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
(3) แบบสำรวจความคิดเห็น ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) เป็นการสำรวจความคิดเห็น โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน
เกณฑ์การประเมินผล
ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ มีค่าคะแนนระหว่าง 0 – 100 คะแนน โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
80 – 100 สูงมาก
60 – 79.99 สูง
40 – 59.99 ปานกลาง
20 – 39.99 ต่ำ
0 – 19.99 ต่ำมาก